Enterprise Risk Management
PRICE LIST
15,000 Baht (Exclusive of VAT 7%)
Special Offer : Contact us
เทคนิคและการปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงขององค์กร
เนื่องจากการดำเนินงานในปัจจุบันขององค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยภายนอกบริษัทฯ เช่น การชะลอตัวของการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน ความผันผวนของราคาวัตถุดิบและน้ำมันเชื้อเพลิง ความผันผวนทางภาคการเงินของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายและกฎระเบียบจากภาครัฐ อีกทั้งปัจจัยภายใน เช่น การกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัทฯ โครงสร้างบริษัทและองค์กร การบริหารจัดการข้อมูล และการบริหารจัดการต่างๆ รวมถึงจากตัวบุคลากรภายในบริษัทเอง คณะกรรมการ ผู้บริหารของ และบุคลากรในองค์กร ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการก้าวไปสู่ระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร หลักสูตรนี้จึงออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าอบรม ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการทุกระดับในองค์กร ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงในองค์กร รูปแบบของความเสี่ยงต่างๆ การจำแนกประเภทของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในองค์กร การจัดทำแผนความเสี่ยง จากการประเมินผลกระทบของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (Risk Impact) และความถี่ในการเกิดความเสี่ยง (Risk Likelihood) ผ่านกรณีศึกษาและแบบฝึกปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (Workshop) เพื่อให้พนักงานในองค์กรสามารถ เขียนแผนความเสี่ยงให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทและนำไปปฏิบัติได้
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เข้าใจถึงความรู้เกี่ยวกับการความเสี่ยงในองค์กร รูปแบบความเสี่ยงประเภทต่างๆ ขั้นตอนในการจัดทำความเสี่ยง การประเมินผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยง และการจัดทำแผนความเสี่ยงได้อย่างเป็นรูปธรรม วัดผลจากตัววัดความเสี่ยงขององค์กร (KRIs) ผ่านการทำ Workshop และกรณีศึกษาขององค์กรชั้นนำต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เข้าใจถึงขั้นตอนในการจัดทำแผนจัดการความเสี่ยงที่เป็นรูปแบบสากล COSO Framework และสามารถนำมาประยุกต์กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง
- อธิบายความหมายของความเสี่ยง และการจัดการกับความเสี่ยงในทุกมิติให้เห็นภาพการจัดการความเสี่ยงว่าสามารถดำเนินการแบบใดได้บ้าง
- อธิบายให้เข้าใจถึง Risk Management จนพัฒนาการกลายมาเป็น Enterprise Risk Management
- อธิบายให้เข้าใจถึง Enterprise Risk Management ประเภทของความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร 6 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategy Risk) ความเสี่ยงด้านการเงิน(Financial Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputation Risk) ความเสี่ยงด้านกฎหมายและข้อบังคับ (Compliance Risk) และความเสี่ยงด้านสารสนเทศ (IT Risk) ผ่านกรณีศึกษาต่าง ๆ และประสบการณ์ของผู้บรรยายที่ได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้แก่องค์กรต่าง ๆ ในด้านการจัดการความเสี่ยง
- Workshop ให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ
ความเชื่อมโยงระหว่าง KPIs และ KRIs
- ความเชื่อมโยงของการวัดผลการปฏิบัติงานโดยผ่าน Key Risk Indicators: KRIs นำขึ้นมาสู่ Key Performance Indicator: KPIs ขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรมผ่านกรณีศึกษา
- Workshop ประกอบความเข้าใจให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจเกี่ยวกับการวัด KRIs
ขั้นตอนในการจัดทำแผนความเสี่ยงขององค์กร
- เข้าใจถึงนโยบายความเสี่ยงขององค์กรที่ส่งผ่านมาจากผู้บริหาร รวมถึงโครงสร้างคณะกรรมการความเสี่ยงของบริษัทที่ควรจะเป็น บทบาทหน้าที่ การประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- อธิบายถึงแนวทางในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งพิจารณาจากความเสี่ยงขององค์กรที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และหาแนวทางในการจัดการความเสี่ยง (Risk Treatment Plan) กับความเสี่ยงคงเหลือ (Risk Residual)
- อธิบายให้เห็นภาพของการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการประเมินผลกระทบของความเสี่ยง (Risk Impact) และ โอกาสของความเสี่ยง (Risk Likelihood) เพื่อนำสู่ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการต่อผ่าน Risk Matrix ผ่านกรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติให้คะแนนจริง ผ่าน Workshopโดยมีเกณฑ์ต่างๆ ในการให้คะแนนสอดคล้องกับการดำเนินงานขององค์กร
- อธิบายให้เห็นถึงการจัดทำสาเหตุของความเสี่ยงอย่างเป็นขั้นตอน และดำเนินการจัดทำแผนความเสี่ยงของบริษัทผ่านการทำ Workshop ให้สามารถนำไปใช้ได้จริง
- อธิบายให้เห็นถึงรูปแบบขั้นตอนการจัดทำแผนความเสี่ยงที่เป็นสากล COSO Framework และตัวอย่างการประยุกต์ใช้ผ่านกรณีศึกษาจริง เพื่อนำมาประยุกต์และปรับเปลี่ยน เพื่อใช้กับองค์กรแต่ละที่อย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบการอบรม
การบรรยาย / กรณีศึกษา
กิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เพื่อนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์กับสภาพการณ์จริง โดยสามารถนำแนวคิดที่ได้รับไปใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ