COURSES CATALOG

Mentoring Skill for High Performance

DURATION

1  Days

PRICE LIST

8,000  Baht (Exclusive of VAT 7%)
Special Offer : Contact us

(ทักษะการเป็นพี่เลี้ยงในองค์กรเพื่อการขับเคลื่อนผลงาน)

บริษัทที่มีการจัดการที่ดี จะให้ความสำคัญในการรักษาดูแลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวเอง ซึ่งมีทั้งที่มีความชัดเจนเป็นระบบ และวิธีการที่ไม่ชัดเจน เช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีหน้าที่ในการดูแลพนักงานใหม่ อันได้แก่   พี่เลี้ยง (Mentoring)  ซึ่งเป็นการดูแลอย่างเป็นระบบชัดเจน อย่างมีกระบวนการ การเป็นที่ปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling) เป็นการให้คำปรึกษาเพื่อดูแลจิตใจ เพื่อช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กรและวัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างร่วมเร็ว พร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมที่เป็นที่ต้องการขององค์กร ซึ่งส่งผลให้พนักงานสามารถปรับตัวและมีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยให้ทีมงานสามารถพัฒนาศักยภาพภายในตนเองเพื่อขับเคลื่อนผลการดำเนินงานที่รับผิดชอบ ผ่านการสอนแนะอย่างมีกระบวนการหรือที่เรียกว่าการโค้ช (Performance Coaching)

  • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทของพี่เลี้ยง ได้อย่างชัดเจนสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทดังกล่าว
  • เพื่อให้ผู้เรียนได้นำเทคนิคการ ปรึกษาและดูแล (Mentoring) ไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรได้ตามสภาวะที่เหมาะสมด้วย Style ของตัวเอง
  • เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างระบบการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring System) ในองค์กรมากขึ้น เพื่อการรักษาและสร้างความผูกพันภายในองค์กร
  • เพื่อให้สามารถนำคุณสมบัติและวิธีปฏิบัติของผู้นำแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้พัฒนาในฐานะพี่เลี้ยงไปประยุกต์ใช้ ในการสร้างบรรยากาศการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ และไว้เนื้อเชื่อใจในองค์กร 

 

หัวข้อที่ 1: การปรึกษาและดูแลพนักงานในฐานะพี่เลี้ยง (Mentor)

  • การเป็นที่ปรึกษาและดูแลในฐานะพี่เลี้ยง (Mentoring) คืออะไร?
  • แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ในการดูแลพนักงานใหม่
  • บทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยงที่สำคัญต่อการรักษาคนและสร้างความผูกพันภายในองค์กร
  • ขอบเขตความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำในการปรับตัวเข้ากับองค์กรของพนักงานใหม่
  • หลุมพรางที่เป็นอุปสรรคในการสร้างระบบพี่เลี้ยง
  • กระบวนการและการดำเนินการในการทำหน้าที่พี่เลี้ยงในการดูแลพนักงานใหม่
  • คุณลักษณะและทัศนคติของพี่เลี้ยงที่ดี
  • Workshop: ออกแบบการเป็นพี่เลี้ยงของตัวเองในการดูแลทีมงาน


หัวข้อที่ 2: การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสำหรับพี่เลี้ยง

  • การกำหนดหลักสูตรอบรมมาตรฐานกลาง
  • วิเคราะห์หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานของแต่ละสายงาน/หน่วยงาน
  • การจัดทำ Skills Matrix หลักสูตรการฝึกอบรมมาตรฐานของหน่วยงาน
  • การวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานสำหรับตำแหน่งาน
  • การจัดทำ Skills Matrix หลักสูตรการฝึกอบรมมาตรฐานของตำแหน่งงาน
  • การจัดทำ Training Roadmap สำหรับ Mentee
  • แนวทางการติดตามและประเมินผลการพัฒนา Mentee
  • Workshop: วิเคราะห์และออกแบบแผนพัฒนา Mentee ของตนเอง 


หัวข้อที่ 3: วิเคราะห์ความแตกต่างของการพัฒนาทีมงานในแต่ละบทบาท (TAPS Model)

  • วิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทีมงานด้วย  KSA Model 
  • Teaching เพื่อสอนให้ทีมงานเข้าใจได้ง่ายและเกิดการจดจำอย่างเข้าใจในการนำไปปฏิบัติ
  • Training เพื่อให้ทีมงานสามารถปฏิบัติตามวิธีการจนกลายเป็นทักษะความเชี่ยวชาญ
  • Coaching เพื่อกระตุ้นให้ทีมงานอยากเปลี่ยนแปลงตนเองและดึงศักยภาพออกมาใช้ในการทำงาน
  • Counseling เพื่อเยียวยาจิตใจทีมงานในสภาวะกดดัน – หมดไฟ–ใจท้อ –ไม่กระตือรือร้น –ไม่อยากทำงาน
  • Consulting เพื่อแนะนำทางเลือกในการแก้ปัญหาในการทำงานให้กับทีมงาน
  • Mentoring เพื่อแนะนำวัฒนธรรมองค์กร การปรับตัวเข้ากับองค์กร หรือตำแหน่งที่ดำรงอยู่
  • Workshop: เทคนิคการผสมผสานบทบาทการพัฒนาทีมงานในแต่ละบทบาทเข้าด้วยกันเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • Workshop: ออกแบบแผนพัฒนาทีมงานที่อยู่ในความรับผิดชอบในฐานะพี่เลี้ยง
  • Workshop: ออกแบบแนวทางการติดตามและประเมินผลการพัฒนา Mentee

หัวข้อที่ 4: ทักษะที่สำคัญ สำหรับพี่เลี้ยง (Mentor) เพื่อการเข้าใจ Mentee

  • ทักษะการอ่านและเข้าใจคนผ่านหลักการ The Four Elements of Success และฝึกการสื่อสาร สร้างสัมพันธ์ให้เกิดความไว้วางใจ ด้วย 3V Model 
  • ทักษะการฟังอย่างใส่ใจ (Empathy and Sympathy) เพื่อการเข้าใจภายในจิตใจ(Iceberg)ผู้อื่นอย่างลึกซึ้งผ่านหลักการ Satir Transformational Systemic Therapy
  • ทักษะการใช้คำถามเพื่อสำรวจและเข้าใจภายในจิตใจของพนักงานใหม่ที่อยู่ภายใต้การดูแล
  • ทักษะการโค้ช(Coaching) เพื่อการพัฒนาศักยภาพและขับเคลื่อนผลงาน
  • กระบวนการโค้ชเพื่อการพัฒนาศักยภาพทีมงานและฝึกใช้เครื่องมือการโค้ชด้วย GROW Model
  • การให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ FISHs Model & WRI Feedback

หัวข้อที่ 5: การบ้านเพื่อการนำไปปฏิบัติและฝึกฝน

  • สร้างแนวทางในการพัฒนาการเป็นพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และยั่งยืน
  • ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวางแผนการนำความรู้และทักษะที่เรียนไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงในการทำงานของตนเอง พร้อมทั้งสร้างแนวทางในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • Plan เลือกสถานการณ์ที่คาดว่าจะพบเจอ และวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้
  • Do นำไปปฏิบัติจริงกับสถานการณ์จริง
  • Check ประเมินผลลัพธ์ของการนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง (สิ่งที่ทำได้ดี / สิ่งที่ควรพัฒนา)
  • Sustainable พัฒนาแนวทางไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าอย่างยั่งยืน

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ หัวหน้างาน / ผู้จัดการ / ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นพี่เลี้ยง