QC 7 Tools
PRICE LIST
Pls call Baht (Exclusive of VAT 7%)
Special Offer : ติดต่อเรา
เครื่องมือแก้ปัญหาด้านคุณภาพในกระบวนการทำงานเชิงสถิติ
การลดต้นทุน คือ การเพิ่มมุมมองเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น มองว่าการกระทำใดที่หากเราไม่ทำก็ไม่ส่งผลต่อคุณภาพสินค้าหรือการส่งมอบ ก็จำเป็นต้องรีบยกเลิกการกระทำหรือขั้นตอนงานดังกล่าว ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิตและสามารถลดต้นทุนได้ ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพนั้น หมายถึง การปฏิบัติงานให้ได้สัดส่วน Output ต่อ Input ที่สูงขึ้น เช่น ใช้กำลังคน เครื่องจักร เครื่องมือเท่าเดิม แต่ได้ผลผลิตหรือผลงานที่มากขึ้น หรือการเพิ่มเครื่องมือเครื่องจักร เพิ่มกำลังคน แต่ได้ผลผลิตที่น้อยลงหรือเท่าเดิม ก็ควรที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยเทคนิคการกำจัดคอขวดหรือยกเลิกขั้นตอนใดๆก็ตาม ที่ไม่สร้างมูลค่าผลผลิตและประโยชน์เพิ่มเติมจากเดิม
QC 7 Tools เป็นเครื่องมือทางสถิติที่นิยมนำมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการต่างๆของการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บางทีก็เรียกว่า Basic Seven ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา (Problem-Solving) หรือใช้ในการปรับปรุงพัฒนา (Improvement)
QC 7 Tools เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีความง่าย สะดวกและมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน โดยเครื่องมือดังกล่าวนี้จะมีส่วนช่วยในการค้นหาปัญหา สำรวจสภาพปัจจุบัน ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อที่จะหาวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องต่อไป โดยต้องคงไว้ซึ่งมาตรฐานและคุณภาพไม่ให้ลดลง
- กำไรเกิดขึ้นได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลชัดเจนคือ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
- การสร้างมูลค่าเพิ่มคืออะไร
- ต้นทุนที่ควรจ่าย (Good Cost) กับ ต้นทุนที่ไม่ควรจ่าย (Bad Cost) แบ่งแยกอย่างไร
- คอขวดเกิดขึ้นได้อย่างไรและจะกำจัดอย่างไร
- การประยุกต์ใช้สำหรับองค์กรในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนา
- การประยุกต์ใช้สำหรับเครื่องมือทั้ง 7 ชนิด
- เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวางแผนและป้องกันปัญหา เพื่อให้ได้นโยบายและมาตรการเชิงรุกที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่างประกอบด้วย
- แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram)
- แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram)
- แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram)
- แผนภูมิเมตริกซ์ (Matrix Diagram)
- แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์(Matrix Data Analysis Chart)
- แผนภาพทางเลือกตัดสินใจ เพื่อบริหารความเสี่ยง (Process Decision Program Chart) และ
- แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram)
- การใช้หลัก PDCA เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- การทำกิจกรรม (Workshop)
รูปแบบการฝึกอบรม
- การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง และมีตัวอย่างประกอบ โดยเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น
- กิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
- ประเมินผลหลังการอบรม
- ผู้ที่เหมาะจะเข้ารับการอบรม
- หัวหน้างานและบุคคลที่สนใจ